ม.ภาคฯ เปิดหลักสูตรใหม่ “วิศวกรรมระบบอัจฉริยะ” วิศวกรรมแห่งอนาคต ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.)

17 ก.พ. 65

ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.)

1.) "วิศวกรรมระบบอัจฉริยะ" คือ วิศวกรรมที่สร้างสรรค์และพัฒนาระบบอัจฉริยะ สร้างนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัย ต่อยอดการเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจดิจิทัล


  • 2.) "วิศวกรรมระบบอัจฉริยะ" เรียนเกี่ยวกับ
    • 2.1 อากาศยานไร้คนขับ (Drone)
      • โดรนสำหรับการถ่ายภาพ
      • โดรนสำหรับการสำรวจ
      • โดรนเพื่อการเกษตร
    • 2.2 ระบบอัจฉริยะ (Smart Systems)
      • อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things :IoT)
      • อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
      • ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy Systems)
    • 2.3 หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation Systems)
    • 2.4 การเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Entrepreneur)

  • 3.) คุณสมบัติผู้เรียน
    • 3.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. หรือเทียบเท่าจากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง
    • 3.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิจาก สป.อว และสมัครเข้าศึกษา เพื่อรับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
    • 3.3 ไม่เป็นผู้ที่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจหรือโรคที่เบียดเบียนหรือเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
    • 3.4 ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดมาก่อน

  • 4.) คุณลักษณะผู้เรียน
    • มีความสนใจทางด้านเทคโนโลยี ต้องการสร้างและพัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัย

  • 5.) อาชีพที่รองรับ
    • 5.1 Drone Specialist
      • "นักบินอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร สำรวจ ทำแผนที่ และการถ่ายภาพโดยอากาศยานไร้คนขับ"
      • เป็นนักบินอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรในยุค 4.0 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิดทางการเกษตร ใช้โดรนเพื่อการสำรวจงานทางด้านวิศวกรรม จัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์ การถ่ายภาพสวยงามและโปรดักชั่นที่น่าสนใจ สร้างมุมมองภาพที่มากกว่าและแตกต่าง รวมทั้งบำรุงรักษาอากาศยานไร้คนขับทั้งระบบ

    • 5.2 วิศวกรระบบอัจฉริยะ
      • "เป็นนักพัฒนาและออกแบบระบบอัจฉริยะ ระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล"
      • เป็นวิศวกรที่พัฒนาและออกแบบระบบอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น โมดูลอิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things : IoT) หรือปัญญาประดิษฐ์ สำหรับออกแบบและพัฒนาระบบและนวัตกรรมที่ทันสมัย เช่น ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) ระบบโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร เป็นต้น สามารถควบคุมและพัฒนาระบบอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ โดยใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ภายนอก การควบคุมระยะไกลด้วยระบบรีโมทและแบบไร้สาย รวมทั้งการเขียนแอปพลิเคชัน (Applications) บนสมาร์ทโฟน (Smart Phone)

    • 5.3 การเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล
      • "เป็นผู้ประกอบการ หรือ Start Up ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคดิจิทัล"
      • เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการการผลิต บริการ การจัดการ และการตลาด เพื่อให้สามารถบริหารจัดการธุรกิจและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    • 5.4 วิศวกรฝ่ายขาย (sales engineer)
      • "วิศวกรฝ่ายขายที่มีความรู้ด้านวิศวกรรมระบบอัจฉริยะ และเทคโนโลยีสมัยใหม่"
      • เป็นวิศวกรฝ่ายขายที่มีองค์ความรู้ด้านอากาศยานไร้คนขับ IoT ระบบงานเกษตรอัจฉริยะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมถึงนวัตกรรมสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล เป็นต้น

    • 5.5 วิศวกรในหน่วยงานต่าง ๆ
      • "สามารถเป็นวิศวกรในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน"
      • การเป็นวิศวกรในหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ และบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น
  • 6.) การจัดการเรียนการสอน สาขาวิศวกรรมอัจฉริยะ
    • 6.1 การจัดการเรียนการสอน ทั้งใน วันราชการ และ เสาร์-อาทิตย์
    • 6.2 สามารถจัดการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติในสถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการ
    • 6.3 มีแผนการเรียนการสอนสหกิจศึกษา
    • 6.4 จบ ปวส.สามารถเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ได้

สมัครเรียน : คลิก